#เรามองอนาคตกันอย่างไร ลองดูตัวอย่างแบบมุมมองนักอนาคตศาสตร์
.
วันนี้มีมุมมองการวิเคราะห์ที่ใช้ในงานที่ผมทำอยู่มาเล่าให้ฟังครับ หวังว่ามีประโยชน์ ชอบแชร์ได้ไม่ต้องขอ แลกเปลี่ยนได้ยินดีเสมอครับ แต่ขอสุภาพนะ เราปัญญาชน
.
ด้วยงานนักวางกลยุทธ์ที่ผมทำอยู่ในปัจจุบันกับบริษัทที่ต้องวางแผนกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ให้องค์กร การเป็นนักอนาคตศาสตร์ คือ เรื่องประจำวันของการทำงานของพวกเรา
.
วันนี้มีเวลาเล็กน้อยเลยลองเขียนเครื่องมือที่ใช้ในการมองอนาคตแบบเล็กๆ ไม่ได้ใช้เต็ม Loop ให้เห็นเวลาเราวิเคราะห์กลยุทธ์ วิสัยทัศน์กับภาพอนาคต ไปลองดูกันครับ
.
เมื่อเร็วๆ นี้ Facebook ประกาศการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Meta ที่พูดถึงการขยายขอบเขตของธุรกิจอย่าง Facebook ไปสู่ Metaverse
.
Facebook จัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่วาง Strategy แบบ Shaping ตือ การเหลาหรือลับคมธุรกิจไปเรื่อยๆ เพื่อสร้าง Innovation หรือนวัตกรรมในอุตสาหกรรมที่ตนเองอยู่ ซึ่งเป็นโมเดลกลยุทธืหลักสำหรับธุรกิจสายเทคโนโลยี
.
การเปลี่ยนแปลงเป็น Meta คือ ก้าวสำคัญไม่ใช่แต่การเปลี่ยนวิสัยทัศน์องค์กรนะ ในมุมกลยุทธ์คือ เปลี่ยน Positioning จาก Shaping เป็น Visionary คือ การวาดภาพอนาคตของโลก แสดงว่าในมุมนี้ Meta กำลังหาจุดยืนให้ตัวเองในอนาคต นั่นย้ำว่า อนาคตของ Metaverse #มาแน่
.
บทวิเคราะห์ของ Harvard ก็พบว่า องค์กรธุรกิจในระดับ Visionary ของโลก มีไม่มาก (คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังว่ามีใครบ้าง)
.
Meta กำลังทำสิ่งนั้น หลังจากที่ Facebook พยายามทำ libra มาก่อน แต่คราวนี้ไม่ใช่ Facebook ที่เป็น Meta จะเดินเกมเป็น Leader แต่เดินเกมในฐานะ Partner and Collaboration เชิงกลยุทธ์ ในการสร้าง Metaverse และ Digital Assets ไปต่อปลั๊กกับองค์กรต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญ
.
การประกาศตัวของ Meta คือ การวางวิสัยทัศน์หรือ Vision หากพิจารณาด้วยโมเดล Futurist’s Framework นั่นหมายความว่า วิสัยทัศน์นี้จะเป็นจริง สำเร็จหรือสมบูรณ์ในระยะเวลา 10 ปี นับจากนี้
.
ถ้ามองภาพที่ Facebook ได้เริ่มทำแว่นตา กับพูดถึง Horizon Workrooms ก็เมื่อประมาณ 1 ปีมาแล้ว แสดงว่า Meta จะสมบูรณ์ในระดับจุดที่ Shape โลกใหม่ได้ ร่วมกับพาร์ทเนอร์และธุรกิจอื่นๆ คงใช้เวลา 9 ปี
.
แสดงว่า นับจากปีนี้ไปอีก 9 ปี เราจะเห็นการขยับตัวเรื่อยๆ ของธุรกิจอย่าง Meta หรือ Facebook เดิม รวมไปถึงองค์กร Tech ขนาดใหญ่ เพาะพวกนี้ขยับตามกันเหมือนคนบ้านเดียวกัน เพื่อช่วงชิงพื้นที่อนาคตก่อนใคร เป็นแบบนี้มาร้อยปี ของกลุ่มธุรกิจที่ขับเคลื่อนโลกมันก็วนลูปนี้ซ้ำ
.
คำถามคือ พวกนี้จะเอาเงินตรงไหนมาลงทุน ก็ต้องระดมทุนใช่หรือไม่ เพราะการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน การใช้เงินคนอื่นลงทุนสร้างผลการเติบโตที่ค่อนข้างชัดเจน ยังไงก็ดีกว่าเอาเงินตัวเองมาเสี่ยงมาลงทุน
.
การระดมจากไหน นี่คือคำถามสำคัญ ตลาดหลักทรัพย์เหรอ? ในต่างประเทศตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญ (แต่ในบ้านเราผมมองว่าเป็นกระดานสำหรับ Exit) แต่แน่นอนมันไม่พอหรอก
.
ธุรกิจแบบ Meta ต้องการเงินเฟียต หรือเงินกระดาษจำนวนมาก จะหาจากไหนละที่ต้นทุนถูกกว่า และได้ประโยชน์สองสามเด้ง นั่นก็คือ การพัฒนา Token Economy ของตนเองหรือแม้กระทั่งการเข้าไปสนับสนุนและเก็งกำไรในตลาดคริปโต เพื่อทำให้เกิดกลไกทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า Demand and Supply
.
คนเอาเงินเฟียตมาแลกเหรียญไป เงินเฟียตเหล่านี้ไปกองที่ไหนละ คิดเอา มันคงไม่นอนอยู่ธนาคารหรอก เังนั้นพวกเหรียญต่างมันคือตัวดูดเงินเฟียตไปนั่นเอง พร้อมกับสัญญาใจว่า คุณจะได้รับผลตอบแทนที่ดีในอนาคต แน่นอนการลงทุนมีความเสี่ยง
.
มีความเป็นไปได้สูง คือ การดึฃเงินเฟียตออกจากตลาดและกำลังเอาไปสร้างโลกใหม่หรือโลกเสมือนจริงอยู่นั่นเอง
.
ดังนั้นหากเราเห็นแบบนี้ เป้าหมายอนาคตไม่ใช่การเก็งกำไร แต่มันคือ การเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลก Metaverse ให้ได้ โดยเริ่มต้นต้องมีสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ใช่การเอาเงินไปเก็งกำไร
.
ภาพอนาคตแบบนี้ ทำให้ผมตัดสินใจเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนเองตั้งแต่ปลายปีนี้และจริงจังในปีหน้า เพราะเหลือเวลาไม่ถึง 10 ปี ก่อนที่คนกลุ่มแรกจะได้ใช้ประโยชน์จาก Metaverse สร้างกำไรและขึ้นเป็นเศรษฐีโลกยุคใหม่ ที่เรียกได้ว่า ยิ่งใหญ่กว่าเศรษฐียุคปัจจุบัน
.
ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจที่ธุรกิจใหญ่ในบ้านเราควักกระเป๋ากว่า 10,000 ล้านลงทุนใน Metaverse
.
โอกาสมาแล้วคุณจะเปลี่ยนแปลงและคว้าหรือไม่ นี่คือ #คำถาม
.
ดร.ทอย