เตรียมตัวเจอกับสินค้าที่จะปรับตัวสูงขึ้นไปอีกในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน หากไม่เตรียมเรื่องนี้ อาจต้องอยู่ยากขึ้น
.
เงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ขึ้นไปที่ 5.28% สูงสุดในรอบสิบกว่าปี (เส้นสีฟ้า) ถ้าจะพูดว่ารุนแรงและน่ากลัวหรือยัง โดยปกติจะพิจารณา ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI )ที่ซึ่งช่วยประมาณการค่าครองชีพของประชากรในด้านค่าใช้จ่ายเพื่อการครองชีพ
.
ถ้าค่า CPI (กราฟสีดำ) มีการปรับขึ้นที่มีนัยสำคัญ และขึ้นต่อเนื่องนั่นหมายความว่า ปัญหาของเงินเฟ้อที่เกิดเข้าสภาวะรุนแรง ดังนั้นเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ที่ 5.28% ทำแพทเทิร์นรุนแรงเรียบร้อยแล้ว
.
มหันตภัยกำลังมาในรูปแบบค่าครองชีพที่จะสูงขึ้นกว่านี้อีก โดยยังคาดการณ์ผลของมันไม่ได้ เพราะยังไม่เห็นนโยบายที่จะจัดการกับเงินเฟ้อในครั้งนี้ที่ชัดเจน ดังนั้นคิดแบบ Worst Case Scenario คือ เงินสดในมือถูก burn แน่นอน
.
ผ่านการที่เรามีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ค่าครองชีพที่สูง นั่นทำให้ความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ตำ่ลง ขณะที่ความสามารถในการกู้เพิ่มหรือ เครดิต แทบไม่เหลือ นั่นแสดงว่าเรากำลังจะเจอปัญหาเงินเข้าน้อยกว่าเงินออก ดังนั้นภาระหนี้สินที่มีจะยิ่งทำให้กระอักและอ่วมทันที โดยเฉพาะถ้าดอกเบี้ยเข้าสู่ขาขึ้น ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นทันที
.
ลองคำนวณการซื้อบ้านของคุณ กู้ธนาคารที่ 5 ล้านบาท ดอกเบี้ย 4% เท่ากับ ดอกเบี้ยปีละ 200,000 บาท ผ่อนเดือนละ 35,000 เท่ากับปีนึงจ่ายจ่ายไป 420,000 บาท เป็นเงินต้น 220,000 และดอกเบี้ย 200,000 บาท
.
ถ้าดอกเบี้ยขยับจาก 4% เป็น 5% ขึ้นมา 1% ทำให้ดอกเบี้ยต่อปีเป็น 250,000 บาท เงินต้นที่จ่ายไปเหลือเพียง 170,000 บาท
.
ดอกเบี้ยบ้านจาก 200,000 บาท เป็น 250,000 บาท เท่ากับต้นทุนทางการเงินเพิ่มไป 25% จากดอกเบี้ยแค่ 1% ณ ตอนนี้ใครรีไฟแนนซ์ ล็อคดอกเบี้ยคงที่ได้อาจทำ Risk Management ป้องกันความเสี่ยงได้ดีกว่ารอดอกเบี้ยขาขึ้นที่กำลังมา เพราะมาแน่ถ้าดู Inflation หรือเงินเฟ้อที่เกิด และดู CPI ที่ขยับขึ้น
.
ที่เหลือวัดใจแบงก์ชาติจะอั้นได้แค่ไหน เพราะไม่ใช่แค่เกมของแบงก์ชาติแต่ต้องดูเรื่องเงินไหลออกนอกประเทศด้วย ถ้าเงินออกมากก็ต้องบีบขึ้นดอกเบี้ย
.
ขณะที่ต้นทุนโลจิสติกส์กำลังขย่มโลกอีก เพราะรัสเซียยูเครน ดูทรงแล้วปีนี้แหละวิกฤตเศรษฐกิจใหญ่
.
ดร.ทอย ปุญญภณ เทพประสิทธิ์
เอ็มวีพี คอนซัลท์แทนท์