## จุดตายของคนคิดกลยุทธ์ คือ การมองอนาคตเป็นเส้นตรงด้วยการเอาอดีตมาเป็นที่ตั้ง ##
.
#ทำไมการคิดกลยุทธ์จึงล้มเหลวตั้งแต่ต้น
.
หนังสือเล่มนี้พูดถึงว่ามันเป็นปัญหาเกี่ยวกับการให้ค่า Quatitative Method มากเกินไป ผมจะขยายความให้ชัดเจนขึ้น จากประสบการณ์งานที่ทำให้เข้าใจมากขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาตรงนี้ครับ
.
งานหลักๆ ที่ผมทำก็ ThinkTank กลยุทธ์เนี่ยแหละ ทั้งออกแบบในธุรกิจตนเอง ภาครัฐและเอกชนขนาดใหญ่
#StrategicPlanning
.
การทำ Strategic Planning ขององค์กรและภาครัฐ ถือเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของการดำเนินงานขององค์กรในกรอบระยะเวลา 3-5 ปีหรืออาจจะ 10 ปี (ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม)
.
Strategic Planning ทำให้ระดับบอร์ดบริหาร CEO, Top Management, Talent ตลอดจน Key คนสำคัญต้องเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อที่จะออกแบบกลยุทธ์หลักขององค์กรที่จะดำเนินในอนาคต
.
ขณะที่กลยุทธ์หรือการดำเนินงานแบบ Day to day ของแต่ชะส่วนงาน จะเป็นส่วนหนึ่งที่ดำเนินการเพื่อสะท้อนภาพใหญ่เดียวกันภายใต้ Strategic Planning เพื่อพาองค์กรไปสู่เป้าหมายหรือผลลัพธ์หลัก
.
#จุดตาย
ความล้มเหลวของการออกแบบ Strategic Planning เท่าที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสจากองค์กรต่างๆ ที่ผมมีส่วนเข้าไปช่วยพลิกฟื้นและออกแบบใหม่ คือ การ Project the future หรือมองอนาคตเป็นเส้นตรง
.
รวมถึงคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ต้องการในรูปแบบ linear หรือเชิงเส้น ผ่านสมการทางคณิตศาสตร์ สถิติและเศรษฐศาสตร์ หมายความว่า พวกเขาเอาผลลัพธ์ในอดีต สภาพแวดล้อมในอดีตมากำหนดอนาคต
.
#ความหมายนะ ที่อาจไม่ได้ตั้งใจ คือ การกำหนดอนาคตด้วยการให้ค่ากับอดีต
.
ซึ่งมันไม่สามารถทำได้อีกแล้วในโลกที่มีความผันผวนสูง มีความซับซ้อน คลุมเครือ และอุตสาหกรรมต่างๆ ประเทศต่างๆ สัมพันธ์กันจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน
.
ดังนั้นเราจะเห็นการออกแบบกลยุทธ์ที่เอาผลลัพธ์ในอดีตมากำหนดเป้าหมายที่จะต้องได้ในอนาคตรวมไปถึงการกำหนดทรัพยากรที่ใช้ได้ดีในอดีต นำไปใช้ในสภาพแวดล้อมอนาคต
.
จุดนี้เราจะเรียกว่าการมองอนาคตเป็นเส้นตรงหากมีปัจจัยแทรกซ้อนหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ เช่น มีแพลตฟอร์มใหม่เข้ามา หรือมีเทคโนโลยี Web 3.0 เกิดขึ้น แม้เพียงเล็กน้อย แผนที่วางไว้ทั้งหมดจะล้มครืนทันทีอย่างไม่ต้องสงสัย
.
ผลลัพธ์ที่เคยคาดการณ์ไว้ในรูปแบบเชิงเส้น หรือ linear ที่จะเพิ่มขึ้นจะกลับข้างเป็นลดลงแบบทวีคูณ
.
#ทางแก้
วิธีเดียวที่เราจะสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ มีสองสิ่งที่ต้องคำนึงหรือทำให้เกิดขึ้นก่อนการออกแบบกลยุทธ์ครั้งใหญ่
.
#1 Strategic Thinking การคิดเชิงกลยุทธ์ เป็น skill ที่สำคัญที่จะต้องส่งเสริมให้ผู้บริหารระดับสูงหรือทีมงานที่เกี่ยวข้องมีวิธีคิดและมุมมองเชิงกลยุทธ์เสียก่อนจะทำให้สามารถเชื่อมโยงและคาดการณ์สิ่งต่างๆได้อย่างแหลมคม
.
#2 Strategic Foresight การคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์ เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและถูกพูดถึงในประเทศไทยมาประมาณ 10 ปี
.
การคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์มีเทคนิคหรือวิธีการมากกว่า 10 แบบขึ้นอยู่กับความพร้อมความเหมาะสมกรอบระยะเวลาและต้นทุนที่มี
ผมโชคดีที่บริษัทของผมนั้นเราทำด้านเกี่ยวกับการวิจัยทางธุรกิจมาตลอด 10 ปี จึงทำให้เราเห็นและคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำ แล้วก็สามารถนำวิธีคิดวิธีการมองอนาคตไปปรับใช้ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทำให้มองเห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก่อนที่ใครหลายคนจะรู้ตัวเสียด้วยซ้ำ
.
การคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการมองอนาคตที่ไม่ใช่ในรูปแบบเส้นตรง แต่เป็นการมองเชิงกว้างทำให้เห็นอนาคตที่มีโอกาสจะเป็นไปได้
.
เมื่อนำ ศาสตร์ความรู้ Strategic Thinking มาผนวกกับ Stratgic Foresight มันจึงสามารถแก้ปัญหาหรือจุดตายของการทำ Strategic Planning ทำให้แน่ใจได้ว่าการออกแบบกลยุทธ์มันจะไม่ล้มเหลวตั้งแต่วันแรกที่คิดมัน
.
เรื่องนี้ เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย จากประสบการณ์ในการเป็นนักออกแบบกลยุทธ์ถ้าเพื่อนๆ สนใจเรื่องพวกนี้ก็ลองมาพูดคุยกันครับ
.
ดร.ทอย ปุญญภณ เทพประสิทธิ์
#DrToyสปอยส์ธุรกิจ
#DrToySpoilBusiness
#กลยุทธ์
#StrategicPlanning